top of page
ค้นหา

Security Operations Center (SOC) คืออะไร?

ในวงการ Cybersecurity หนึ่งในบริการที่สำคัญไม่แพ้การทำงานของ System Engineer ก็คือ SOC หรือ Security Operations Center ซึ่งถือเป็นทีมที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งสำหรับองค์กรที่มีข้อมูลสำคัญหรือเครือข่ายที่ต้องการการป้องกันที่สูง เนื่องจากทีม SOC จะทำหน้าที่ Monitoring และตรวจจับการโจมตีทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งเป็นหน้าที่ที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องเพื่อคอยเฝ้าระวังและตอบสนองต่อภัยคุกคามต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับระบบขององค์กร ทำให้สามารถลดความเสี่ยงและปกป้องข้อมูลสำคัญได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Security Operations Center หรือ SOC คือทีมส่วนกลางหรือศูนย์ปฏิบัติการด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบ วิเคราะห์ และตอบสนองต่อภัยคุกคามหรือเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยในระบบไอทีขององค์กร โดยใช้ทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญในการปกป้องระบบจากการโจมตีไซเบอร์ SOC สามารถจัดตั้งได้ทั้งในองค์กรหรือจ้างบริการจากภายนอก (Outsource) ซึ่งบริการ SOC เป็นบริการที่ต้องดำเนินงานตลอด 24 ชั่วโมงทุกวันตลอดปี เพื่อคอยตรวจสอบและเปิดเผยการโจมทีทางไซเบอร์ที่อาจเกิดขึ้นแบบเรียลไทม์


หน้าที่หลักของ SOC  

1. ตรวจสอบ ตรวจจับ และติดตามกิจกรรมในระบบ IT ทั้งหมด 

SOC มีหน้าที่ตรวจสอบกิจกรรมและการเชื่อมต่อในระบบเครือข่าย แอปพลิเคชัน และอุปกรณ์ปลายทางแบบเรียลไทม์ เพื่อค้นหาพฤติกรรมที่ผิดปกติหรือสัญญาณที่อาจบ่งชี้ถึงภัยคุกคาม เช่น การพยายามเข้าถึงระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต การดาวน์โหลดไฟล์ที่น่าสงสัย หรือการใช้งานทรัพยากรที่ผิดปกติ 

- ใช้เครื่องมือในการตรวจสอบหาภัยคุกคาม เช่น SIEM (Security Information and Event Management) หรือ EDR (Endpoint Detection and Response) 

- กำหนดการแจ้งเตือน (Alerts) เพื่อระบุและแจ้งให้ทราบเมื่อมีเหตุการณ์ผิดปกติ 

2. วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากเหตุการณ์ทั้งหมด 

หลังจากได้รับแจ้งเตือน SOC จะรวบรวมข้อมูล เช่น Logs, Metadata, และข้อมูลอื่น ๆ เพื่อประเมินความเสี่ยงและระบุภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น 

- วิเคราะห์ Indicators of Compromise (IoC) และ Indicators of Attack (IoA) เพื่อระบุรูปแบบการโจมตี 

- ใช้การวิเคราะห์เชิงลึก (Deep Analysis) เพื่อทำความเข้าใจลักษณะและผลกระทบของเหตุการณ์ 

- จัดลำดับความสำคัญของเหตุการณ์ตามระดับความร้ายแรง เพื่อจัดการทรัพยากรในการตอบสนอง 

3. จัดการและยับยั้งเมื่อเกิดเหตุการณ์การโจมตี 

เมื่อเกิดเหตุการณ์ SOC จะดำเนินการตอบสนองอย่างรวดเร็วเพื่อป้องกันความเสียหายหรือยับยั้งการโจมตี เช่น 

- การกักกันอุปกรณ์ (Isolation) ตัดการเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่ได้รับผลกระทบเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของภัยคุกคาม 

- การลบมัลแวร์ ใช้เครื่องมือเฉพาะในการกำจัดมัลแวร์หรือโค้ดที่เป็นอันตราย 

- การปิดช่องโหว่ แก้ไขปัญหาในระบบหรือแอปพลิเคชัน เช่น การอัปเดตซอฟต์แวร์หรือการตั้งค่าความปลอดภัย 

4. ป้องกันและพัฒนาระบบหลังเกิดภัยคุกคาม SOC มีบทบาทในการปรับปรุงมาตรการป้องกันเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งของระบบ โดยใช้ข้อมูลเชิงลึกจากการโจมตีที่เกิดขึ้นก่อนหน้า 

- อัปเดตฐานข้อมูลภัยคุกคามและการตั้งค่าของเครื่องมือความปลอดภัย 

- พัฒนานโยบายความปลอดภัยใหม่ ๆ เพื่อลดความเสี่ยงในอนาคต 

- ฝึกอบรมพนักงานให้ตระหนักถึงภัยคุกคามและการปฏิบัติที่ปลอดภัย 

5จัดทำรายงานและสื่อสารผลการดำเนินงานให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง SOC ต้องจัดทำรายงานเพื่อให้ทีมบริหารหรือทีมที่เกี่ยวข้องทราบถึงสถานะและประสิทธิภาพด้านความปลอดภัย 

- รายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงวิธีการตรวจพบและวิธีการตอบสนอง 

- วิเคราะห์แนวโน้มภัยคุกคามเพื่อแนะนำแนวทางป้องกันในอนาคต 

- สร้างรายงานเชิงกลยุทธ์เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจด้านความปลอดภัยขององค์กร 


 

องค์ประกอบสำคัญของ SOC ที่มีประสิทธิภาพ 

การมีทีม SOC ที่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้องค์กรสามารถตอบสนองต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้อย่างรวดเร็ว และมีความมั่นคงในการป้องกันความปลอดภัย ซึ่งองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการที่ทำให้ SOC มีประสิทธิภาพคือ 

  1. บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ (People) - ทีมงานที่ดูแลระบบ SOC ต้องมีทักษะเฉพาะด้านในการวิเคราะห์ข้อมูลและการตอบสนองต่อเหตุการณ์ (Incident responders) ที่มีความสามารถในการจัดการกับเหตุการณ์ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังต้องมี Forensic Experts ที่มีความเชี่ยวชาญในการตรวจสอบและเก็บรวบรวมหลักฐานเมื่อเกิดเหตุการณ์ภัยคุกคามขึ้น เพื่อให้สามารถสืบค้นและเข้าใจเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงการวิเคราะห์ผลกระทบได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน 

  2. กระบวนการที่มีประสิทธิภาพในการตอบสนอง (Process) – การมีกระบวนการที่ชัดเจน เช่น Incident Response Plans ที่ถูกกำหนดไว้อย่างดีและมีการสื่อสารภายในที่มีประสิทธิภาพ จะช่วยให้ทีม SOC สามารถตอบสนองต่อภัยคุกคามได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ซึ่งกระบวนการเหล่านี้จะช่วยให้ทีมสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างเป็นระบบ พร้อมทั้งรายงานสถานการณ์และผลกระทบได้ทันท่วงที ทำให้สามารถลดความเสี่ยงและปกป้องระบบได้ในเวลาที่เหมาะสม 

  3. เครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัย (Technology) - การลงทุนในระบบและการเลือกใช้โซลูชันที่จำเป็นเพื่อช่วยในการรวบรวม วิเคราะห์ และตรวจจับภัยคุกคาม ซึ่งองค์กรควรมีการเตรียมอุปกรณ์ Hardware และ/หรือ Software ของระบบ SIEM และการใช้แพลตฟอร์มที่รวบรวมข้อมูลภัยคุกคามจากแหล่งฐานข้อมูลภัยคุกคามทางไซเบอร์ หรือ Threat Intelligence Platform เพื่อช่วยในการรวบรวมข้อมูลภัยคุกคามจากทั่วโลกและช่วยในการตัดสินใจอย่างมูลในการป้องกันภัย 

 

SOC จำเป็นแค่ไหน? 

SOC มีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับองค์กรที่ต้องการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ที่อาจเกิดขึ้นและรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในระบบ IT ขององค์กร SOC เป็นเครื่องมือสำคัญในการดูแลและตอบสนองต่อภัยคุกคามต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสำหรับองค์กรที่มีข้อมูลที่มีค่า หรือเครือข่ายที่ต้องการการป้องกันที่สูง  

การมี SOC ช่วยให้องค์กรสามารถ

  1. ตรวจจับภัยคุกคามและการโจมตี 

  2. ตอบสนองต่อเหตุการณ์การโจมตีได้ทันที  

  3. วิเคราะห์เหตุการณ์เพื่อให้สามารถตัดสินใจในการตอบสนองต่อเหตุการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว 

  4. ตรวจจับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลและระบบต่าง ๆ ที่อาจถูกละเมิด  


อยากใช้บริการ SOC ในองค์กร? เริ่มต้นง่าย ๆ กับ BMSP 

BMSP เรามีบริการ SOC ที่มีประสิทธิภาพ พร้อมมอบการปกป้องระบบ IT ขององค์กรคุณตลอด 24/7/365 ด้วยทีมงานมืออาชีพ และเทคโนโลยีทันสมัยเพื่อให้มั่นใจในความปลอดภัยจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ โดยบริการ SOC ที่เด่นกว่าทั่วไปของ BMSP มี 

▸ ทีมผู้เชี่ยวชาญด้าน IT Security ที่คุณวางใจได้ 

ทีมงานของ BMSP มีประสบการณ์ยาวนานในด้าน IT Security และพร้อมให้คำปรึกษาเฉพาะกรณี (Case-by-case) เพื่อจัดการปัญหาด้านความปลอดภัยอย่างมืออาชีพ ทุกเคสที่เข้ามาจะได้รับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่เหมาะสม ช่วยให้คุณสามารถรับมือกับภัยคุกคามได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพ พร้อมแนะนำวิธีการที่เหมาะสมที่สุดในการตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ 

▸ บริการดูแลความปลอดภัยตลอด 24/7/365 

ทีม SOC ของ BMSP พร้อมให้บริการดูแลระบบ IT ขององค์กรคุณตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน ตลอดปี พร้อมทั้งตอบสนองต่อภัยคุกคามอย่างทันท่วงที ทีมผู้เชี่ยวชาญจะคอยตรวจสอบและติดตามกิจกรรมที่ผิดปกติในระบบ IT ขององค์กรเพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีภัยคุกคามใดๆ ที่จะมาทำลายระบบของคุณได้ 

▸ เสริมความแม่นยำด้วย Threat Intelligence Platform (TIP) 

BMSP ใช้ Threat Intelligence Platform (TIP) ที่มีแหล่งข้อมูลภัยคุกคามมากกว่า 40 ฟีด (Feeds) ซึ่งรวมถึงข้อมูลจากแหล่งภัยคุกคามระดับโลก ช่วยให้สามารถค้นหา วิเคราะห์ และจัดการภัยคุกคามได้อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เทคโนโลยีนี้ช่วยเสริมความสามารถในการตรวจจับภัยคุกคามที่มีความซับซ้อนสูงและภัยคุกคามที่อาจจะไม่สามารถตรวจพบได้จากแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่มีอยู่ทั่วไป การใช้ TIP จาก BMSP ช่วยให้การวิเคราะห์ภัยคุกคามมีความแม่นยำและรวดเร็วขึ้น ทำให้สามารถตัดสินใจในการตอบสนองได้ทันเวลา เพื่อปกป้องระบบ IT ขององค์กรจากการโจมตีทางไซเบอร์ 

  

BMSP พร้อมมอบบริการ SOC ที่มีประสิทธิภาพและปรับแต่งได้เพื่อทุกขนาดองค์กร ด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญด้าน IT Security และเทคโนโลยีล้ำสมัยที่ช่วยปกป้องระบบ IT ของคุณตลอด 24/7/365 โดยไม่ต้องลงทุนในทรัพยากรที่มากเกินไป นอกจากนี้การใช้ Threat Intelligence Platform (TIP) จากแหล่งข้อมูลกว่า 40 ฟีด ช่วยให้การตรวจจับและตอบสนองต่อภัยคุกคามเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและแม่นยำยิ่งขึ้น บริการของเรามุ่งเน้นการปกป้องระบบ IT ขององค์กรจากการโจมตีไซเบอร์ให้มั่นใจและปลอดภัยในทุกสถานการณ์ 

 

ดู 8 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


ติดต่อ

บริษัท แบงคอค เอ็มเอสพี จำกัด

ใน.png
โทร.png

ชั้น B อาคาร SSP 555/2 ซอยสุขุมวิท 63 (เอกมัย) แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย 10110

02 092 7464

  • facebook
  • linkedin

ส่งอีเมลถึงเราและเราจะ
ตอบกลับโดยเร็วที่สุด

ขอบคุณสำหรับข้อมูล!!

bottom of page